วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

โรคนอนเกิน

 โรคนอนเกิน (Hypersomnia)


โรคนอนเกินคืออะไร?

นอนมากเกินไปหรือโรคนอนเกิน (Hypersomnia) เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนผิดปกติ สามารถหลับได้ตลอดเวลา ตื่นยาก และเมื่อตื่นแล้วรู้สึกว่าต้องการนอนต่ออีก แม้จะไม่ใช่โรคที่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ประสิทธิภาพการเรียนและการทำงานลดลง เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง 

การนอนมากเกินไปอาจเป็นผลจากการไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอหรืออดนอนเป็นเวลานาน  เป็นโรคที่เกิดในคนขี้เซาเป็นหลัก ยิ่งพักนอนเท่าไรก็รู้สึกไม่พอเท่านั้น ชีวิตที่เป็นโรคนี้ก็จะดูเฉื่อย ซึมเซา ไร้ชีวิตชีวา บางทีกินน้อยแต่อ้วนง่าย เพราะการนอนเยอะเกินไปนี้อาจมีธาตุเครียดเข้ามาผสมปนเป ทำให้ “กินแล้วเก็บสะสม” ได้มาก 

สาเหตุของโรคนอนเกิน

  • นอนหลับไม่เพียงพอเป็นเวลานาน
  • ปรับเวลานอนไม่ถูก
  • รับประทานบาบางชนิด เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้แพ้
  • การหลั่งฮอร์โมนในร่างกาย และการหลั่งสารในสมองที่ผิปกติ
  • ความผิดปกติขิงระบบทางสมอง เช่น โรคทางสอง หรือสมองได้รับอุบัติเหตุ
  • ความผิดปกติในช่วงเวลาของการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ หรือนอนกรน
อาการของโรคนอนเกิน
  • ตื่นยาก
  • รู้สึกง่วงตลอดเวลา
  • หงุดหงิดง่ายตลอดทั้งวัน
  • ความจำไม่ค่อยดี มีติดขัดเมื่อใช้ความคิด
  • วิตกกังวล หรือโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่า
  • มีการงีบ หรือแอบหลับระหว่างวันอยู่บ่อยครั้ง
  • สามารถหลับโดยไม่รู้สึกตัวในช่วงที่ไม่ควรจะนอนหลับ อาจเกิดอุบัติเหตุเป็นอันตรายได้

ผลเสียของการนอนมากเกินไป เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง

  • โรคอ้วน เพราะการนอนมากเกินไปจะทำให้ระบบการเผาผลาญไขมันลดลง เกิดการสะสมของไขมัน นอกจากนี้ยังสามารถเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น    
  • เกิดภาวะสมองล้า คิดอะไรไม่ค่อยออก ส่งผลให้บุคลิกภาพกลายเป็นคนเฉื่อยช้า เซื่องซึม      
  • ภาวะหยุดหายใจแบบเฉียบพลัน หรือโรคใหลตาย เนื่องจากสัญญาณของสมองที่ดับไปนานกว่าผิดปกติ ส่งผลให้เนื้อสมองตายได้     
  • โรคกระดูกพรุน และปัญหาเกี่ยวกับข้อต่างๆ เนื่องจากการนอนมากเกินไป ร่างกายจะไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน อาจทำให้กระดูก และกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง มีปัญหาตามมาได้
  • ภาวะมีบุตรยาก การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจะส่งผลฮอร์โมนของเพศหญิงหลั่งออกมาเป็นปกติ    
  • โรคซึมเศร้า เนื่องจากการนอนมากเกินไปส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน เช่น การหลั่งของฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) และเซโรโทนิน (Serotonin) ที่ลดต่ำลง      
  • เสียชีวิตเร็วขึ้น เนื่องจากการนอนมากเกินไป ร่างกายจะไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน จึงไม่มีออกซิเจนมาเพิ่มแก่อวัยวะภายในร่างกาย

ป้องกันอาการนอนมากเกินไป

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ควรกินอิ่มเกิน หรือปริมาณน้อยเกินไป      
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม      
  • หากหิวก่อนนอน ควรรับประทานนมอุ่นๆ 1 แก้ว จะช่วยให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้น      
  • ควรทำกิจกรรมเพื่อปรับให้ร่างกายเข้าสู่การพักผ่อน เช่น อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ      
  • อาบน้ำก่อนนอนทุกครั้ง      
  • ควรเข้านอนไม่เกิน 22.00 น. และตื่นนอนเวลาประมาณ 05.00 น. – 06.00 น. หรือควรนอนวันละ 6-8 ชั่วโมง และทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน ทำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ จะส่งผลให้ตอนเช้าตื่นมาสดใส ไม่มีอาการง่วง หรืออยากนอนต่อ      
  • หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน หรือควรงีบหลับไม่เกิน 1 ชั่วโมงเท่านั้น     
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ หากใช้ในปริมาณมาก และใช้ในระยะเวลานานๆ จะส่งผลให้เกิดการดื้อยา ต้องเพิ่มปริมาณยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับตับ และประสาทหลอนได้





https://m.facebook.com/VejdusitFoundation/posts/1792245780914331/


https://www.blockdit.com/posts/61cd09629b2297b13def4d0b


https://m.facebook.com/Pisanus.thailand/posts/1588156084648297/


https://www.facebook.com/senadevelopmentpcl/photos/a.115431955152225/3795494377145946/?type=3



https://youtu.be/9TG849yXdUM


https://youtu.be/9SgK63tqLMs


https://youtu.be/LXWkS2JQ1f4


https://youtu.be/bUOesm9fYPk

แหล่งอ้างอิง
https://www.petcharavejhospital.com/en/Article/article_detail/Sleep-too-much-but-Wake-up-Sleepy

https://www.pobpad.com/%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9B-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9A


งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคนอนเกิน

  โรคนอนเกิน (Hypersomnia) โรคนอนเกินคืออะไร? นอนมากเกินไปหรือโรคนอนเกิน (Hypersomnia) เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนผิดปกติ สามารถหลับได้ต...